ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475
ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475
การปฏิวัติภายใต้การนำของเหล่า " คณะราษฎร " ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. เป็นการยึดอำนาจการปกครองประเทศจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป
การปฏิวัติภายใต้การนำของเหล่า " คณะราษฎร " ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. เป็นการยึดอำนาจการปกครองประเทศจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป
เราคงเคยได้ยินคำว่า ปฏิวัติ กบฏ และรัฐประหารมาบ้างเเล้ว หลายคนไม่รู้ว่าคำ 3 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นจึงต้องให้ความเข้าใจความหมายของคำเหล่านี้กันก่อน
เริ่มจาก คำว่า ปฏิวัติ (อังกฤษ: revolution) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบบเดิม ยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ เป็นการอธิบายว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ในทางการเมือง การปฏิวัติ คือ การยึดอำนาจจากผู้ปกครองเดิม แล้วทำการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง แตกต่างจากการก่อรัฐประหาร ที่หมายถึงการล้มล้างรัฐบาลที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือรัฐทั้งรัฐเสมอไป นั้นจึงเป็นเพียงการยึดอำนาจปกครอง แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และรูปแบบสุดท้ายนั้นก็คือ การกระทำที่มีเจตนาเช่นเดียวกับการรัฐประหารและปฏิวัติเพียงแต่กระทำการไม่สำเร็จ บทลงโทษสำหรับผู้แพ้นั้นก็คือ การถูกบันทึกว่าเป็น "กบฏ" สถานเดียว จึงจะเห็นได้ว่า แม้รูปแบบในการเข้ายึดอำนาจจะเป็นการเข้ามาไม่แตกต่างกันนัก แต่การที่จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของปฏิบัติการนั้นเอง
ในอดีตก่อนที่จะมีการ "การปฏิวัติสยาม" ก็ได้มีความพยายามจะเปลี่ยนแปลงการปกครองมาก่อนหน้านี้เช่นกัน ย้อนไป 24 (พ.ศ. 2455) ปีก่อนการการปฏิวัติสยาม ได้เกิด กบฏ ร.ศ. 130 ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ครั้งนั้น
นายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน ผู้ก่อการในครั้งนั้นได้รับโทษประหารชีวิตเเละขังคุกกันตามสภาพความผิด แต่ด้วยพระบารมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์ ทุกนจึงได้รับการลดหย่อนโทษตามสมควร
กลับมาที่ "การปฏิวัติสยาม" ซึ่งคณะ" คณะราษฎร " ได้ให้เหตุผลในการก่อเหตุครั้งนั้นว่าสืบเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ทั้งความเสื่อมโทรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความไม่พอใจที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มักเอาแต่ทำตัวให้เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า ดังที่ระยาทรงสุรเดชเองเคยพูดว่า "พวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แทบทั้งหมด มุ่งแต่เพียงทำตัวให้โปรดปรานไว้เนื้อเชื่อใจจากพระเจ้าแผ่นดินไม่ว่าด้วยวิธีใด ตลอดทั้งวิธีที่ต้องสละเกียรติยศด้วย..." อีกทั้งตอนนั้นทั่วโลกก็มีกระแสการโค่นล้มระบอบกษัตริย์เกิดขึ้น เช่น รัสเซีย จีน หรือเยอรมนี การได้รับอิทธิพลทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประเทศตะวันตก ในเหล่านักศึกษาไทยที่ไปศึกษายังต่างประแดน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมที่ไม่ยุติธรรมระหว่างข้าราชการที่เป็นเจ้าและที่เป็นสามัญชน
" คณะราษฎร " ที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยในครั้งนั้น เป็นกลุ่มบุคคล 2กลุ่ม คือกลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ และกลุ่มนายทหารทั้งทหารบกรวมทั้งทหารเรือในประเทศไทย จำนวน 115 คน นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), พลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) และหากจะพิจารณาดูแล้วก็จะพบว่าบุคคลทั้ง 2 กลุ่มซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลระดับปัญญาชนที่มีสติปัญญาการศึกษาสูง ที่ต่างมีพื้นฐานบางประการเหมือนกันนั้นก็คือ ได้รับอิทธิพลของรูปแบบการปกครองจากประเทศทางตะวันตเมื่อครั้งที่ไปทำการศึกษา
พ.ศ. 2469 ณ หอพัก Rue de summerard กรุงปารีส 7 ปีก่อนทำการปฏิวัติ
ในครั้งนั้นผู้ดูเเลนักเรียนไทยซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่งได้แจ้งกลับมายังเมืองไทยว่า มีนักเรียนไทยที่มีแนวคิดเป็นพวกหัวรุนเเรง จะเป็นภัยต่อประเทศจึงเห็นว่าควรให้บางคนกลับประเทศไทยเสีย ทางด้านนักเรียนไทยเองก็มีความไม่พอใจในสถาณการณ์บ้านเมืองอยู่เเล้ว การรวมกลุ่มเพื่อผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงได้ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469
ภาพหมู่ คณะราษฎร ถ่ายที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2468 ในการพบปะเพื่อเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ประชุมกันเป็นครั้งแรกที่หอพัก Rue Du Somerardกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผู้เข้าร่วมประชุมมี 7 คน ประกอบไปด้วย ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี (นายทหารกองหนุน อดีตผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์รัชกาลที่ 6)ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ (หลวงพิบูลสงคราม กำลังศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ในโรงเรียนนายทหาร) ร.ต. ทัศนัย มิตรภักดี (ศึกษาวิชาการทหารม้าในโรงเรียนนายทหารของฝรั่งเศส) นายตั้ว ลพานุกรม (นักศึกษาวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาเอกในสวิตเซอร์แลนด์) หลวงศิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี ผู้ช่วยเลขานุการทูตสยามประจำกรุงปารีส) นายแนบ พหลโยธิน (เนติบัณฑิตอังกฤษ) และนายปรีดี พนมยงค์ (ดุษฎีบัณฑิตกฎหมายฝ่ายนิติศาสตร์ ฝรั่งเศส) ภายหลังการประชุมที่ยืดเยื้อถึง 5 วัน ก็ได้มีมติให้นายปรีดี เป็นประธาน และหัวหน้าคณะราษฎร จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสม โดยตกลงที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากรูปแบบกษัตริย์เหนือกฏหมายมาเป็นการปกครองที่มีกษัตริย์ใต้กฏหมาย โดยใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" " และจากประสบการณ์ของ กบฎ ร.ศ.130 ทำให้คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครองในครั้งนี้ได้ทำการวางแผนการด้วยความรัดกุมอย่างยิ่ง
24 มิถุนายน 2475
ก่อนการปฏิวัติ"คณะราษฎร"ได้มีการประชุมเพื่อวางแผนกันหลายครั้ง หากว่ามีความเสี่ยงสูงก็ต้องยอมยกเลิกแผนการนั้นไปก่อน จนกระทั่งถึงครั้งที่เห็นชอบกันว่ามีความพร้อมมากที่สุด นั้นคือ จะทำการปฏิวัติในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพราะในวันนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับที่พระราชวังไกลกังวล จึงทำให้ในกรุงเทพฯ เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
การปฏิวัติครั้งสำคัญครั้งนี้ ได้ทำการประชุมวางแผนกัน ณ บ้านของ ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่12 มิถุนายน 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่มออกเป็น 4หน่วยด้วยกัน คือ
หน่วยที่ 1 เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่เวลา 06.00 น.ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข รวมทั้งคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดสามารถแล่นเข้ามาได้
หน่วยที่ 2 เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น. ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ รวมทั้งวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์
หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที
สุดท้าย หน่วยที่ 4 อันถือว่าเป็น " มันสมอง " โดยมี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเตรียมการเจรจากับต่างประเทศหลังการปฏิบัติการสำเร็จ
ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร โดยพระยาทรงสุรเดช อาศัยความเป็นอาจารย์ใหญ่ที่สอนนักเรียนที่โรงเรียนนายร้อย ใช้กลลวงนำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเพื่อฝึกยุทธวิธีทหารราบต่อสู้รถถัง จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง
แผนการในครั้งนี้สำเร็จลง เป็นไปอย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ ด้วยการวางแผนที่แยบยล ตั้งแต่การจับตัวประกัน การตัดการสื่อสาร และที่สำคัญการลวงทหาร ดังที่พระยาทรงสุรเดชได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ชัดเจนว่า "เป็นเพราะนายทหาร นายสิบ พลทหารเหล่านั้นเห็นด้วยในการปฏิวัติหรือ...เปล่าเลย ทั้งนายทหาร นายสิบ พลทหาร ไม่มีใครรู้เรื่องอะไรเลย ตั้งแต่เกิดมาก็ไม่มีใครเคยได้เห็นได้รู้ การปฏิวัติทำอย่างไร เพื่ออะไร มีแต่ความงงงวยเต็มไปด้วยความไม่รู้ และข้อนี้เองเป็นเหตุสำคัญแห่งความสำเร็จ ! สำหรับพลทหารทั้งหมดไม่ต้องสงสัยเลย เขาทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของเขาโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เขาถูกฝึกมาเช่นนั้น และหากนายทหารอื่นมาสั่งให้ทำโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เขาก็ทำเช่นเดียวกัน ทำไมเขาจะไม่ทำ เพราะในชีวิตเป็นทหารของเขา เขายังไม่เคยถูกเช่นนั้น เพราะฉะนั้นเขาจะรู้ไม่ได้เลยว่าเป็นการลวง ในเมื่อเขาโดนเป็นครั้งแรก ...นายทหารทั้งหมดส่วนมากได้เรียนในโรงเรียนนายร้อยในสมัยที่ผู้อำนวยการฝ่ายทหารเป็นอาจารย์ใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงมีความเคารพและเกรงในฐานผู้ใหญ่"
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่ต้องการให้เสียเลือดเนื้อ และบ้านเมืองต้องได้รับความเสียหาย อีกทั้งพระองค์เองก็ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอยู่ก่อนแล้ว จึงไม่ทรงขัดความปรารถนาของคณะราษฎรที่ได้กราบบังคมทูลเชิญเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
หลังยึดอำนาจสำเร็จ วันที่ 26 มิถุนายน 2475 ผู้แทนคณะราษฏรได้เดินทางเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ณ วังศุโขทัย นำเอกสารสำคัญขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองฯ ในวันที่ 27 มิถุนายน
สภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกตามธรรมนูญการปกครองฯ มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี คนแรกของประเทศไทยและมีนายปรีดี เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของสภาผู้แทนราษฎร และในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ภายใต้การนำของคณะราษฎร เป็นไปเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยซึ่งเดิมเป็นของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้มาเป็นของประชาชน และยกกษัตริย์ขึ้นเป็นประมุขของประเทศ โดยไม่มี พระราชอำนาจในทางการบริหารบ้านเมืองอย่างแท้จริง หากเป็นสัญลักษณ์และศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ การกระทำของกษัตริย์ในทางการเมืองต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการเสมอ นั่นคือ ผู้ลงนามสนองฯเป็นผู้กระทำและรับผิดชอบ ส่วนการกระทำของกษัตริย์เป็นแต่เพียงในนามเท่านั้น และมีหลัก 6 ประการเป็นเป้าหมาย อันประกอบด้วย เอกราช, ความปลอดภัย, ความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ, ความเสมอภาค, เสรีภาพ และการศึกษา
หลักฐานแห่งประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ถูกถ่ายทอดมาถึงปัจจุบันบนลานบนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่าเป็นสมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน เขียนไว้ว่า “ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ”
ภายหลังการปฏิวัติที่สำเร็จลง ก็ใช่ว่าเหตุการณ์บ้านเมืองจะสงบลงเอยด้วยดี ยังการต่อสู้ทางการเมืองของผู้มีอุดมการณ์ที่แตกต่างกันทั้ง ผู้นำในระบบเก่าที่ยึดมั่นในทาง(สมบูรณาญาสิทธิราชย์) กับระบอบใหม่ (ประชาธิปไตย) รวมทั้งในกลุ่มคณะราษฎรเองก็มีความขัดแย้งกันในภายหลังอย่างรุ่นเเรงเช่นกัน
สิ่งที่เราได้จากวันที่ 24 มิถุนา 2475 คือ การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ แต่ประชาธิปไตยจะก้าวไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับผู้ใช้ในปัจจุบัน
เบื้องหน้าเบื้องหลังการปฏิวัติ กบฏ หรือรัฐประหารในแต่ละครั้งที่เกิดขึ้น กับสิ่งที่เรารับรู้ย่อมเป็นไปอย่างหลากหลาย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ใครคือผู้ครอบครอบ "อำนาจ"ในการเปิดเผยประวัติศาสตร์ในขณะนั้นๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจละเลยได้ นั้นก็คือ ส่วนหนึ่งของ พระราชหัตถเลขาฉบับประวัติศาสตร์ว่าของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้ง ได้ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม2477 ความว่า
"…ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจ อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาชน"