การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวาง มีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่าง
สร้าง ตัว การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน มีฐานะเป็นพ่อขุน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิม ความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชา และทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
1. สมัยสุโขทัยตอนต้น เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหง
2. สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. 1792 -1841 )
หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้ พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครอง แบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่าการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
1. รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
2. พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุคร ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
3. ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว ยังมีการจัดระบบการปกครอง ดังนี้
- ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็น บ้าน อยู่ในความดูแลของ พ่อบ้านผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า ลูกบ้าน
- หลายบ้านรวมกัน เป็น เมือง ผู้ปกครองเรียกว่า ขุน
- เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น อาณาจักร อยู่ในการปกครองของ พ่อขุน
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน
ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
4. พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม
เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี
อาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า
วลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย (พ.ศ. 1841-1981 )
หลัง จากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ. 1841แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่ม อ่อนแอ ไม่สามารถรักษาความมั่นคลของอาณาจักรไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ
สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมือง
ศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี 1890 ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่า กลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ( ลิไทย ) ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่ สามารถทำได้ เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของ ประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการ ดำเนินชีวิต สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน
การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่าการปกครองแบบธรรมราชา พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
การปกครองแบบกระจายอำนาจ
เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึง
เมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
1. เมืองหลวง หรือเมืองราชธานี อาณาจักร สุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณ๊
2 เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน เรียก อีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า 2 วัน เมืองลูกหลวงมีดังนี้
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย
ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองสองแคว ( พิษณุโลก )
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองสระหลวง ( เมืองพิจิตรเก่า )
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองนครชุม ( กำแพงเพชร )
เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
3. เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความ สามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย เช่น เ มืองพระบาง (นครสวรรค์ ) เมืองเชียงทอง ( อยู่ในเขตจังหวัดตาก )เมืองบางพาน ( อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ) เป็นต้น
4. เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครอง คือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันอง โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ สุโขทัยทุก 3 ปี ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองแพร่ เมืองน่าน
ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เมืองเซ่า ( หลวงพระบาง ) เมืองเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์